การตรวจการได้ยินมีความสำคัญในการวินิจฉัยความผิดปกติของระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
กับการได้ยิน เนื่องจากความผิดปกตินี้จะมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาพูดของเด็ก และยัง
สามารถบ่งชี้ถึงพยาธิสภาพในหูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นในและประสาทส่วนกลาง

        การตรวจการได้ยินสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ

               1. การตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียง (tuning fork)

               2. การตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ (pure tone audiometry)

               3. การตรวจการได้ยินโดยใช้คำพูด (speech audiometry)

 

การตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียง (tuning fork)

      ส้อมเสียง (tuning fork) เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากเหล็กหรืออลูมิเนียมเพื่อใช้ในการตรวจ
การได้ยินอย่างง่ายๆ โดยผู้ตรวจจะเคาะส้อมเสียงกับบริเวณที่แข็งและยืดหยุ่นได้  เช่น
ข้อศอกหรือหัวเข่าของตนเองเพื่อให้มีการสั่นสะเทือนของส้อมเสียง (tuning fork) โดยเสียง
ที่ใช้ในการตรวจอยู่ที่ 512 เฮิรตซ์ (hertz,Hz = รอบต่อวินาที ) ซึ่งเป็นการตรวจด้วยเสียง
ความถี่เดียว จึงใช้เป็นการตรวจการได้ยินแบบคัดกรอง (screening test)

 

                                            

 

                                                 ภาพส้อมเสียง

 

   การตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียงที่นิยมใช้กันมี 2 วิธี คือ

          1. การทดสอบวีเบอร์ (Weber test) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยอาการในผู้ที่มีปัญหา
การได้ยินแบบการนำเสียงบกพร่อง กับผู้ที่มีปัญหาการได้ยินแบบประสาทรับเสียงบกพร่อง
โดยผู้นั้นต้องมีปัญหาเพียงหูข้างเดียว

         วิธีตรวจ

              –
ผู้ตรวจวางส้อมเสียงที่เคาะแล้วซึ่งมีความถี่ประมาณ 256 เฮิรตซ์ (hertz) ไว้ใน
แนวกลางศีรษะเช่น กลางหน้าผาก กลางกระหม่อม คาง หรือฟันหน้า แล้วถามผู้ถูกตรวจว่า
ได้ยินเสียงดังไปหูข้างไหนมากกว่ากัน (ภาพที่ 2)

     
 

 

    ภาพที่ 2 การตรวจการได้ยินโดยใช้ส้อมเสียงแบบการทดสอบวีเบอร์ (Weber test)

 

          ผลการตรวจมีลักษณะดังนี้

               1. ผู้ที่มีการได้ยินปกติทั้ง 2ข้าง จะได้ยินเสียงจากส้อมเสียงดังพอๆ กันทั้ง 2 หู
หรืออาจจะไม่สามารถบอกความแตกต่างได้ โดยจะแจ้งว่าได้ยินตรงกลาง

               2. ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่องข้างหนึ่ง และมีการได้ยินปกติ
อีกข้างหนึ่ง จะรายงานว่าได้ยินเสียงดังไปยังหูข้างที่มีการนำเสียงบกพร่อง

               3. ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินแบบประสาทรับเสียงบกพร่อง และมีการได้ยินปกติ
อีกข้างหนึ่งจะรายงานว่าได้ยินเสียงดังไปยังหูข้างที่มีการได้ยินปกติ



      2. การทดสอบรินเน (Rinne test) เป็นการตรวจโดยให้ฟังเสียง เพื่อเปรียบเทียบ
การได้ยินเสียงผ่านทางอากาศ (air conduction) และการได้ยินผ่านทางกระดูก (bone
conduction) ในหูเดียวกัน


         วิธีตรวจ

               –
ผู้ตรวจวางส้อมเสียงที่ถูกเคาะแล้วไว้หน้าช่องหูแต่อย่าแตะใบหูของผู้ถูกตรวจ
และวางก้านของส้อมเสียงไว้ที่บริเวณกระดูกมาสตอยด์ เพื่อให้ฟังเปรียบเทียบว่าได้ยิน
บริเวณไหนดังกว่าระหว่างหน้าช่องหูหรือบริเวณกระดูกมาสตอยด์ (ภาพที่ 3)

     


         ภาพที่ 3 การตรวจการได้ยินโดยใช้ส้อมเสียงแบบการทดสอบรินเน (Rinne test)

 

         ผลการตรวจมีลักษณะดังนี้

              1. ผู้ที่มีการได้ยินปกติในหูข้างนั้น จะรายงานว่าได้ยินเสียงที่หน้าช่องหูดังกว่า
เรียกว่าการทดสอบรินเนให้ผลบวก (positive Rinne test)

              2. ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง จะรายงานว่าได้ยินเสียงที่กระดูก
มาสตอยด์ดังกว่าเรียกว่า การทดสอบรินเนให้ผลลบ (negative Rinne test)

              3. ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินแบบประสาทรับเสียงบกพร่อง จะรายงานว่าได้ยินเสียง
ที่หน้าช่องหูดังกว่าเรียกว่า การทดสอบรินเนให้ผลบวก (positive Rinne test)


การตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ (pure tone audiometry)


       การตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ เป็นการตรวจการได้ยินโดยใช้เครื่องมือ
อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า เครื่องตรวจการได้ยิน (audiometer)  โดยมีจุดประสงค์ดังนี้

              1. วัดระดับการสูญเสียการได้ยิน (degree of hearing loss)

              2. หาตำแหน่งพยาธิสภาพที่ก่อให้เกิดปัญหาในการได้ยิน

              3. ช่วยฟื้นฟูความสามารถในการได้ยินด้วยวิธีทางการแพทย์หรือวิธีฟื้นฟูอื่นๆ


         การตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงบริสุทธิ์แบ่งเป็น 2 วิธี คือ


 1. การตรวจการได้ยินทางอากาศ (air conduction)    เป็นการตรวจโดยใช้
ที่ครอบหู (earphones) ครอบหูทั้ง 2 ข้าง เสียงจะเดินทางผ่านจากที่ครอบหูไปยัง
หูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน โดยใช้ช่วงความถี่ที่ตรวจคือ 250, 500, 1,000, 2,000,
4,000 และ 8,0000 เฮิรตซ์ ระดับความดังที่ใช้เริ่มตั้งแต่ -10 dBHL ( decibel hearing
level ) จนถึง120 dBHL ในช่วงความถี่ 500- 4.000 เฮิรตซ์


 2. การตรวจการได้ยินทางกระดูก (bone conduction test)
  เป็นการตรวจ
โดยวางเครื่องสั่นกระดูก (bone vibrator) ไว้ที่บริเวณกระดูกมาสตอยด์ของหูข้างที่จะตรวจ
เสียงจะเดินทางผ่าน กระดูกมาสตอยด์ไปยังหูชั้นใน ช่วงความถี่ที่ตรวจคือ 500 - 4,000
เฮิรตซ์และ ระดับความดังที่ใช้เริ่มตั้งแต่ -10 dBHL ( decibel hearing level) จนถึง 70 dBHL



      ขั้นตอนการตรวจ


   1. ผู้ตรวจต้องให้คำอธิบายสั้นๆ และง่ายต่อการเข้าใจแก่ผู้ถูกตรวจว่า จะได้ยินเสียงต่างๆ
และให้ตอบสนองต่อเสียงโดยการกดปุ่มหรือยกมือ


   2. ตรวจหาระดับการได้ยินในระดับต่ำสุด (determination of threshold) ในหูด้านที่ดีกว่า
โดยการตรวจการได้ยินทางอากาศ (air conduction)


   3. ตรวจหาระดับการได้ยินในระดับต่ำสุด (determination of threshold) ในหูอีกด้านหนึ่ง
โดยการตรวจการได้ยินทางอากาศ (air conduction test )


   4. ตรวจตามข้อ 2 และ 3 โดยการตรวจการได้ยินทางกระดูก (bone conduction test )


   5. บันทึกผลที่ได้ลงในใบบันทึกผล (audiogram) โดยใชเครื่องหมายตามตารางที่ 1

 

ภาพที่ 4 เครื่องตรวจการได้ยินและสภาพห้องตรวจ
ที่มา :sweeneyhall.sjsu.edu/ cds/clinic-index.html




ภาพที่ 5 ที่ครอบหู
       การแปลผลการได้ยิน

             การแปลผลการได้ยินจะอาศัยผลการตรวจการได้ยินดังต่อไปนี้

        1. การสูญเสียการได้ยินจากการตรวจการได้ยินทางอากาศ (air conduction test :AC)

        2. การสูญเสียการได้ยินจากการตรวจการได้ยินทางกระดูก (bone conduction test
:BC)

        3. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับต่ำสุดที่ได้ยินของการตรวจการได้ยินทางอากาศ
(air conduction :AC) และ การตรวจการได้ยินทางกระดูก (bone conduction test :BC)

   ผลการตรวจการได้ยินสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

      1. การได้ยินปกติ (normal hearing)  เป็นกลุ่มที่มีการได้ยินอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ทั้งการตรวจการได้ยินทางอากาศ (air conduction test :AC) และการตรวจการได้ยิน
ทางกระดูก (bone conduction test :BC) โดยมีผลการตรวจสรุปได้ดังนี้

            - ค่าเฉลี่ยการตรวจการได้ยินทางอากาศ (air conduction :AC) ที่ 500-2,000
เฮิรตซ์ ไม่เกิน 25 dBHL

            - ระดับการได้ยินในแต่ละความถี่ตั้งแต่ 250- 8,000 เฮิรตซ์ไม่เกิน 25 dBHL

            - ระดับ การได้ยินทางอากาศ (air conduction :AC) และการได้ยินทางกระดูก
(bone conduction :BC) ในแต่ละความถี่ต้องใกล้เคียงกันหรือถ้าระดับการได้ยินทางกระดูก
(bone conduction :BC) ดีกว่าการได้ยินทางอากาศ (air conduction :AC) ต้องมีค่า
ความแตกต่าง (air bone gap: AB gap) ไม่เกิน 10 dBHL

      2. การนำเสียงบกพร่อง (conductive hearing loss)
เป็นกลุ่มที่มีพยาธิสภาพ
ที่บริเวณหูชั้นนอกและหรือหูชั้นกลาง เสียงไม่สามารถผ่านเข้าไปสู่ คอเคลีย (cochlea)
ได้สะดวก ทำให้มีปัญหาในการรับฟังเสียงทางอากาศ แต่การรับฟังเสียงทางกระดูกเป็นปกติ
โดยมีผลการตรวจสรุปได้ดังนี้

            - ค่าเฉลี่ยการตรวจการได้ยินทางอากาศ (air conduction test :AC) ที่ 500-2,000
เฮิรตซ์มากกว่า 25 dBHLแต่ไม่เกิน 60 dBHL

            - ค่าเฉลี่ยการตรวจการได้ยินทางกระดูก (bone conduction test :BC) ที่ 500 -
2,000 เฮิรตซ์น้อยกว่า 25 dBHL

            - มีค่าความแตกต่างระหว่างการได้ยินทางอากาศ (air conduction :AC) และ
การได้ยินทางกระดูก (bone conduction :BC) (air bone gap: AB gap) อย่างน้อย
15 dBHL ใน 2 ความถี่ขึ้นไป

      3. ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง (sensorineural hearing loss)
เป็นกลุ่มที่มี
พยาธิิสภาพที่ คอเคลีย (cochlea) หรือเส้นประสาทหู ทำให้มี ปัญหาในการรับฟังเสียงทั้งทาง
อากาศ และทางกระดูกโดยมีผลการตรวจสรุปได้ดังนี้

            - ค่าเฉลี่ยการตรวจการได้ยินทางอากาศ (air conduction test :AC) ที่ 500-2,000
เฮิรตซ์ มากกว่า 25 dBHL

             - ค่าเฉลี่ยการตรวจการได้ยินทางกระดูก (bone conduction test :BC) ที่ 500 -
2,000 เฮิรตซ์ มากกว่า 25 dBHL

             -  ระดับการได้ยินทางอากาศ (air conduction :AC) และการได้ยินทางกระดูก
(bone conduction :BC) ในแต่ละความถี่ใกล้เคียงกัน หรือถ้ามีความแตกต่าง (air bone gap:
AB gap) ต้องไม่เกิน 10 dBHL

      4. การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (mixed hearing loss)
  เป็นกลุ่มที่มี
พยาธิิสภาพที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างการนำเสียงบกพร่องกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่องทำให้้
การรับเสียงทั้งทางอากาศและทางกระดูกมีปัญหาทั้งคู่ แต่การรับเสียงทางอากาศจะมีปัญหา
มากกว่า โดยสรุปผลการตรวจได้ดังนี้

             - ค่าเฉลี่ยการตรวจการได้ยินทางอากาศ (air conduction test :AC) ที่ 500-2,000
เฮิรตซ์ มากว่า 25 dBHL

             - ค่าเฉลี่ยการตรวจการได้ยินทางกระดูก (bone conduction test :BC) ที่ 500 -
2,000 เฮิรตซ์ มากกว่า 25 dBHL

             - มีค่าความแตกต่างระหว่างการได้ยินทางอากาศ (air conduction :AC) และ
การได้ยินทางกระดูก (bone conduction test :BC) (air bone gap: AB gap) อย่างน้อย
15 dBHL ใน 2 ความถี่ขึ้นไป
  
  การบันทึกผลการตรวจการได้ยินจะใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์บันทึกลงในแบบบันทึก
(audiogram) ดังตารางและภาพที่ 6

 

หูขวา (สีแดง)
หูซ้าย (สีน้ำเงิน)
    ตรวจการได้ยินทางอากาศ
           *ไม่ใส่ที่ครอบหู
           *ใส่ที่ครอบหู

o

x

     ตรวจการได้ยินทางกระดูก
           *ไม่ใส่ที่ครอบหู
           *ใส่ที่ครอบหู


<
[

>
]

 

  ในกรณีที่ใช้ความดังสูงสุดแล้วไม่มีการตอบสนองจะใช้สัญลักษณ์  


    

 

ภาพที่ 6 ตัวอย่างผลการตรวจการได้ยิน (audiogram) ที่มีความบกพร่องเนื่องจาก
การได้ยินเสียงปืนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเวลานานและหลังจากนั้นยังฝึกยิงปืน
เป็นประจำ

ที่มา : http://www.freehearingtest.com/audiograms.shtml



การตรวจการได้ยินโดยใช้คำพูด (speech audiometry)


       การตรวจการได้ยินโดยใช้คำพูดมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการเข้าใจคำพูด
ที่ี่ได้ยินในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเสียงพูดในที่มีเสียงรบกวน ผลการตรวจนี้จะนำมา
พิจารณาร่วมกับการตรวจวิธีอื่นๆ เกี่ยวกับปัญหาการได้ยินจากเสียงพูดและการประเมิน
การใส่เครื่องช่วยฟังตลอดจนการให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีปัญหา

       เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ

              – เรียกว่าเครื่องตรวจการได้ยินโดยใช้คำพูด (speech audiometer)


      โดยทั่วไปเครื่องมือนี้มักจะรวมอยู่ในเครื่องตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงบริสุทธิ์
  
       สำหรับเสียงพูดที่ผ่านเข้าไปในเครื่องสามารถผ่านออกทางไมโครโฟนโดยใช้เสียงพูด
จากผู้ตรวจ หรือเสียงพูดที่บันทึกผ่านแถบบันทึกเสียงหรือแผ่นดิสก์ ( compact disc)
โดยใช้ระดับความดังตั้งแต่ –10 เดซิเบล ถึง 110 เดซิเบล การตรวจการได้ยินโดยใช้
คำพูด (speech audiometry) จะไม่มีความถี่เฉพาะปรากฏให้เห็น เพราะเสียงพูดนั่น
เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่หลายๆ ความถี่รวมกัน เสียงพูดของผู้ตรวจที่ผ่านเข้าไปใน
ไมโครโฟน เรียกว่า monitored live voice (MLV) เนื่องจากเสียงของผู้พูดจะต้องมีการปรับ
ให้อยู่ในระดับที่ต้องการตรวจวัดโดยผ่านตัวปรับความดัง (volume unit meter)
  
      ผู้ถูกตรวจจะตอบสนองการตรวจโดยการพูดตามที่ได้ยิน เขียนคำพูดที่ได้ยิน
ลงในกระดาษ หรือชี้ไปยังภาพหรือวัตถุที่มีอยู่ในห้องตรวจตามคำพูดของผู้พูด สิ่งสำคัญ
ในการตรวจ คือ การจัดตำแหน่งที่นั่งของผู้ถูกตรวจ ต้องจัดให้อยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถ
มองเห็นหรืออ่านริมฝีปากของผู้ตรวจได้



  ประเภทของการตรวจการได้ยินโดยใช้คำพูด (speech audiometry)

       1. ตรวจระดับเสียงพูดที่ต่ำที่สุดที่ผู้ถูกตรวจสามารถรับฟังได้ (speech - detection
threshold:SDT)
ผู้ตรวจจะเพิ่มความดังด้วยการใช้เสียงพูด ซึ่งอาจเป็นการเรียกชื่อ
ผู้ถูกตรวจ หรือทำเสียง ต่างๆ เพื่อให้เกิดความสนใจโดยเฉพาะในการตรวจเด็ก
จนกระทั่งผู้ถูกตรวจหันหาเสียงหรือตอบสนองต่อการได้ยิน


       2. ตรวจระดับเสียงพูดที่ต่ำที่สุดที่ผู้ถูกตรวจสามารถเข้าใจว่าเป็นคำพูด (speech -
reception threshold:SRT)
(อย่างน้อยร้อยละ 50 ของคำที่ใช้ทดสอบในระดับเดียวกัน)
คำพูดที่ใช้ทดสอบเรียกว่า สปอนเดอิก (spondaic หรือ word spondees) มีลักษณะ
ดังนี้คือ เป็นคำสองพยางค์ที่ผู้ฟังคุ้นเคยมาก และมีความต่างทางสัทศาสตร์ ( phonetic
dissimilarity) เพื่อสามารถแยกแยะเสียงพูด นอกจากนี้แต่ละพยางค์ยังต้องมีความดัง
ใกล้เคียงกัน ( homogeneity) ตัวอย่างคำที่ใช้ในภาษาไทยได้แก่ ไฟฟ้า ดอกไม้ รองเท้า
เสื้อผ้า พ่อแม่และตัวอย่างคำในภาษาอังกฤษได้แก่ baseball hotdog toothbrush cow
boy airplane เป็นต้น

       3. ตรวจความสามารถของผู้ถูกตรวจในการแยกแยะเสียงพูด(word discrimination
testing หรือ speech discrimination testing:SD)
ตรวจในระดับความดังที่พอเหมาะ โดยมีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความสามารถในการแยกแยะเสียง ช่วยในการวินิจฉัยตำแหน่ง
พยาธิสภาพในระบบการได้ยิน และช่วยในการเลือกเครื่องช่วยฟัง รวมถึงการให้คำแนะนำ
ในการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน ในการตรวจจะใช้คำที่เป็นพยางค์เดียว และเป็นบัญชีคำที่มี
ีความสมดุลของสัทศาสตร์ทางเสียงในทุกบัญชี (Phonetically Balanced word lists:PB )
ได้แก่ อ่าน เป็น เต่า ไกล ผ้า ถุงเสื้อ บ้าน แต่ละบัญชีจะมี 25 คำ คำแต่ละคำมีน้ำหนักร้อยละ
4 ถ้าผู้ถูกตรวจสามารถพูดตามได้ 25 คำ จะได้คะแนนเต็มร้อยละ 100

ลองมาตรวจคัดกรองความสามารถในการได้ยินแบบง่ายๆ กันดีกว่า